นักเรียนนักศึกษาไทยหรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายคนไม่กล้าใช้ดิกชันนารีแบบอังกฤษ-อังกฤษ ทั้งที่มีประโยชน์มาก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เตรียมสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ผู้รู้ นักวิชาการทั้งหลายควรใช้เพื่อพัฒนาภาษาอย่างเข้มแข็งและเร่งด่วน และเราควรส่งเสริมให้เด็กๆ เริ่มใช้กันตั้งแต่ชั้นมัธยมด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะกำลังเรียนหลักสูตรปกติ คู่ขนาน หรือ English programme เพราะมีข้อดีมากมาย เช่น
1. มีตัวอักษรโฟเนติก ทำให้เรารู้หลักการออกเสียงที่ถูกต้องและสามารถออกเสียงได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามากที่สุด การใช้ตัวอักษรไทยเทียบเสียง แม้ว่าจะใกล้เคียงขนาดไหนก็ไม่สามารถแทนเสียงที่แท้จริงได้ อย่าหลอกตัวเองต่อไปอีกเลย
2. การอ่านคำจำกัดความเป็นภาษาอังกฤษช่วยให้เราได้ฝึกอ่านประโยคและการแต่งประโยคแบบเป็นภาษาอังกฤษจริงๆ อย่างง่ายๆ และถูกต้อง
3. จากข้อ 2. การเห็นตัวอย่างประโยคที่ถูกต้องบ่อยๆ ช่วยทำให้เราสามารถแต่งประโยคได้เองอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น
4. และทำให้เราสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษได้เก่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเรานึกศัพท์ที่เราต้องการจะใช้จริงๆ ไม่ออก
5. ทำให้เราเข้าใจความต่างของคำพ้อง (synonym) และการใช้คำเหล่านี้มากกว่าการใช้ดิกชันนารีอังกฤษ-ไทยเพียงอย่างเดียวและรู้แค่ว่าความหมายมันเหมือนกัน โดยที่ไม่เข้าใจจริงๆ ว่ามันสามารถใช้แทนกันได้มากแค่ไหน ในสถานการณ์ไหน และเมื่อไหร่ที่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เช่น คิดว่า refuse กับ deny อาจแปลว่า ปฏิเสธ เหมือนกัน แต่ refuse ใช้เมื่อปฏิเสธที่จะทำ จึงใช้ในรูปของ refuse to do แต่ deny ใช้บอกว่าปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ จึงใช้ในรูปของ deny doing เป็นต้น ใครสนใจประเด็นความต่างของคำเหมือนสามารถ like fanpage Vocab Differs ได้
6. การเคยชินกับการอ่านจับใจความเป็นภาษาอังกฤษทำให้เราไม่ตื่นเต้นสติแตกเวลาอ่านเจอคำที่เราไม่เข้าใจความหมายเพียงคำเดียว อันเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ใครหลายคนพาลคิดว่าเราแปลไม่ออกทั้งประโยค ทั้งที่จริงๆ แล้ว เรายังสามารถเข้าใจใจความสำคัญของทั้งประโยคและทำข้อสอบได้ในหลายกรณี
คราวนี้ ดิกชันนารี แบบอังกฤษ-อังกฤษนั้นมีหลายสำนัก ซึ่งมีความแตกต่างกันในระดับที่การเลือกใช้ให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการด้านการศึกษาและวิชาการของเราสามารถสร้างความแตกต่างให้ผู้เรียนได้ดีทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น
Oxford มีชื่อเสียงมานานและฟังดูผู้ดี๊ผู้ดี มี mini-dictionary ออกมาให้พกพาได้สะดวก แต่จะเป็นเล่มใหญ่ที่ให้ตัวอย่างประโยค โดยรวมแล้วการให้ความหมายของคำออกไปทางวิชาการ และอาจจะเข้าใจยากถ้าเทียบกับเล่มอื่น และที่สำนักนี้ดูด้อยกว่าสำนักอื่นไปก็คือการอธิบายสิ่งต่างๆ ตามมุมมองของคนพูดอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่ไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่มีในวัฒนธรรมต่างชาตินั้น คนต่างชาติก็อาจจะต้องการเข้าใจบ้างว่าสิ่งนั้นๆ มีความหมายในเชิงวัฒนธรรมหรือความคิดอย่างไร
Longman จะเป็นที่ชื่นชอบของคนที่เรียนทางด้านวัฒนธรรมมากกว่า เช่น เคยเปิดเจอคำว่า the ugly sisters ที่ไม่เจอใน oxford และก็สงสัยว่า แค่ "พี่สาวน่าเกลียด" ทำไมต้องมาอยู่ในดิกชันนารีด้วย พออ่านความหมายแล้วชอบมาก คือ "เป็นพี่สาวต่างมารดาของซิลเดอเรลล่า น่าเกลียดและใจร้าย ในยุคกลางมักนิยมใช้นักแสดงชายเป็นคนแสดง และมักเป็นบทที่ใช้เรียกเสียงหัวเราะ" ล้ำเลิศมากและเห็นภาพสุดๆ Longman เคยดังมากๆ เมื่อหลายสิบปีก่อนเมื่อตีพิมพ์ดิกชันนารีฉบับ "Cultural Edition" ที่บอกด้วยว่าคำไหนมีความหมายต่อสังคมโลกอย่างไร แล้วรัฐบาลไทยตอนนั้นมีมติให้งดจำหน่ายในประเทศไทยเพราะให้คำบรรยาย "Bangkok" ว่าเป็นเมืองที่มีโสเภณีมากที่สุดในโลก ได้ยินว่า Longman ออกมาขอโทษต่อการให้ความหมายนั้น เรื่องมันนานมาแล้ว ถ้าจำอะไรผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วย
Macmillan อาจารย์สอนภาษาอังกฤษหลายคนชื่นชอบและแนะนำ ให้ความหมายที่เข้าใจง่าย มีฉบับ "student" ที่มีเคล็ดลับในการเรียนและการทำรายงานสำหรับนักเรียนด้วยนะ แล้วก็ยังมีฉบับวิชาการ ที่ให้ความหมายศัพท์เฉพาะทางวิชาการแบบหนักหน่วงสุดๆ อีกด้วย
นอกจากนั้นยังมี Cambridge, Collins, Merrium-Webster และอื่นๆ อีกให้เลือกสรรตามตัวเลือกที่มีในร้านใกล้บ้านหรือตามแต่จะหาเจอบนโลกออนไลน์
วิธีเลือกดิกชันนารีอังกฤษ-อังกฤษสำหรับชีวิตและอนาคตก็อาจจะพิจารณาว่าเราเน้นการศึกษาด้านไหน และลองเลือกคำมาคำหนึ่ง ใช้เปิดหาความหมายในดิกชันนารีแต่ละสำนักเปรียบเทียบกันว่าสำนักไหนที่การอธิบายความ การใช้ภาษา ตัวอย่างประโยค ความละเอียดของการอธิบายสำนวนต่างๆ ตรงใจเรามากที่สุด ส่วนตัวผู้เขียนใช้แทบทุกเล่ม เพราะบางคำหาเจอในเล่มนึงก็หาไม่เจอในอีกเล่มนึง บางทีหาเจอแล้วก็ยังอยากเปรียบเทียบความหมายในเล่มอื่นอยู่อีก แต่ไม่ได้ซื้อเองทั้งหมด อาศัยเปิดใช้ที่โรงเรียนสอนภาษากับหาบนอินเตอร์เน็ตเอา
แล้วตอนหน้าจะเอามาเปรียบเทียบให้ดูกันเต็มๆ แล้วค่อยต่อด้วยการใช้ตัวช่วยออนไลน์ในการหาศัพท์ ที่มีทั้งตามตำราและแหวกแนว แต่โดยรวมแล้วสนุกสุดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่ลืมว่าบนโลกออนไลน์เป็นที่ที่ใครจะเขียนอะไรก็ได้และไม่ใช่ทุกคนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบ ความปลอดภัยในการเรียนภาษาที่ถูกต้องยังคงอยู่ในดิกชันนารีเล่มยักษ์ของสำนักต่างๆ ที่ว่ามานั่นเอง เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเปรียบเทียบให้ฟังค่ะ
English Test Guidance
ตัวอย่างข้อสอบภาษาอังกฤษ วิธีคิดและการทำความเข้าใจ
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558
ตามหา Dictionary ชั้นเลิศ ตอนที่ ๓ Dictionary สำหรับเด็กๆ
Dictionary สำหรับเด็กๆ ชั้นประถมถึงมัธยมต้นควรมีตัวหนังสือไม่เล็กเกินไป อ่านง่าย ถ้ามีตัวหนังสือสองสีขึ้นไปก็จะทำให้เด็กๆ หาคำศัพท์ได้ง่ายและรู้สึกไม่เบื่อ เด็กๆ ควรเห็นแล้วชอบ มีความรู้รอบตัวและภาพประกอบที่ทำให้เขาสนใจ เช่น ธงหรือชุดประจำชาติประเทศต่างๆ พร้อมหน่วยเงินตรา ภาพพืชผัก สัตว์ เครื่องแต่งกาย ฯลฯ
ดิกชันนารีสำหรับเด็กยังไม่จำเป็นต้องเป็นดิกชันนารีแบบอังกฤษ-อังกฤษ ดังนั้นการให้คำอ่านจึงยังใช้ตัวอักษรไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม เราควรเลือกที่การให้คำอ่านใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาอังกฤษมากที่สุด เช่น คำว่า APPLE ควรให้คำอ่านว่า "แอ๊พ-โพ่วะ" ไม่ใช่ "แอ๊ป-เปิ้ล"
แม้จะเป็นดิกชันนารีสำหรับเด็กก็ควรบอกว่าคำแต่ละคำนั้นสามารถเป็นคำชนิดใดได้บ้าง ควรมีตัวอย่างประโยคให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการแต่งประโยค ควรมีสำนวนที่ใช้บ่อยด้วย และถ้าเป็นคำกิริยาก็ควรผันกิริยาเป็นรูปต่างๆ ให้เห็น เช่น
และส่วนตัวแล้วคิดว่า ดิกชันนารีสำหรับการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพของเด็กๆ ควรจะมีคำศัพท์อย่างน้อย 20,000 คำ
น่าเสียดายว่าดิกชันนารีอังกฤษ-ไทย ที่เคยพาน้องนักเรียนไปเลือกนั้นหาเล่มที่มีครบทุกอย่างนี้ได้ยากมาก บางเล่มอธิบายดี การเลือกใช้คำไพเราะและนำมาใช้งานได้จริงในระดับงานแปล บางเล่มภาพประกอบสวย ชัดเจน บางเล่มมีคำศัพท์ยากๆ เยอะ แต่การจัดรูปเล่มทำให้หาคำได้ลำบาก และคำแปลแปลแบบห้วนๆ พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่นำมาใช้ไม่ได้จริงในการแปล บางเล่มดีเกือบทุกอย่าง แต่วงคำศัพท์น้อยมาก ก็ต้องมาปรึกษากันว่าอะไรสำคัญที่สุดและน้องๆ ชอบเล่มไหนมากที่สุด (หรืออาจจะต้องซื้อสองเล่ม) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในวัยนี้ไม่ใช้ความรู้แบบจัดเต็ม แต่เป็นการเรียนรู้ภาษาอย่างสนุกสนาน ทำให้เขาอยากศึกษาต่อเองที่บ้าน และเพิ่มพูนทักษะในการพัฒนาภาษาด้วยตัวเองสำหรับวันข้างหน้า เพราะภาษานั้นได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ มีวินัยเสมอต้นเสมอปลาย และรู้ว่าเขาต้องการรู้อะไรและเพื่ออะไร
ดิกชันนารีสำหรับเด็กยังไม่จำเป็นต้องเป็นดิกชันนารีแบบอังกฤษ-อังกฤษ ดังนั้นการให้คำอ่านจึงยังใช้ตัวอักษรไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม เราควรเลือกที่การให้คำอ่านใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาอังกฤษมากที่สุด เช่น คำว่า APPLE ควรให้คำอ่านว่า "แอ๊พ-โพ่วะ" ไม่ใช่ "แอ๊ป-เปิ้ล"
แม้จะเป็นดิกชันนารีสำหรับเด็กก็ควรบอกว่าคำแต่ละคำนั้นสามารถเป็นคำชนิดใดได้บ้าง ควรมีตัวอย่างประโยคให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการแต่งประโยค ควรมีสำนวนที่ใช้บ่อยด้วย และถ้าเป็นคำกิริยาก็ควรผันกิริยาเป็นรูปต่างๆ ให้เห็น เช่น
LOVE (เลิ่ฟฺ) n. 1 ความรัก เช่น Love is good. ความรักเป็นสิ่งที่ดี v. 2 loves, loving, loved, have loved รัก เช่น I love my family. ฉันรักครอบครัวของฉัน puppy love ความรักใคร่ชอบพอกันของเด็กๆ
ตีความได้ว่า
คำว่า LOVE อ่านว่า "เลิ่ฟฺ"
ความหมายที่ 1 เมื่อเป็นคำนาม (noun) มีความหมายว่า ความรัก เช่น Love is good. (ความรักเป็นสิ่งที่ดี)
ความหมายที่ 2 เมื่อเป็นคำกิริยา (verb) มีความหมายว่า รัก เช่น I love my family (ฉันรักครอบครัวของฉัน)
เมื่อใช้กับ สรรพนามบุรุษที่สามเอกพจน์ใน present tense ใช้ loves
เมื่อใช้เป็น gerund หรือใน continuous tense ใช้ loving (ตัด e ข้างท้ายออก)
เมื่อใช้ใน past tense ใช้ loved
เมื่อใช้ใน perfect tense หรือ passive voice ใช้ loved
สำนวน puppy love แปลว่า ความรักใคร่ชอบพอกันของเด็กๆ
และส่วนตัวแล้วคิดว่า ดิกชันนารีสำหรับการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพของเด็กๆ ควรจะมีคำศัพท์อย่างน้อย 20,000 คำ
น่าเสียดายว่าดิกชันนารีอังกฤษ-ไทย ที่เคยพาน้องนักเรียนไปเลือกนั้นหาเล่มที่มีครบทุกอย่างนี้ได้ยากมาก บางเล่มอธิบายดี การเลือกใช้คำไพเราะและนำมาใช้งานได้จริงในระดับงานแปล บางเล่มภาพประกอบสวย ชัดเจน บางเล่มมีคำศัพท์ยากๆ เยอะ แต่การจัดรูปเล่มทำให้หาคำได้ลำบาก และคำแปลแปลแบบห้วนๆ พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่นำมาใช้ไม่ได้จริงในการแปล บางเล่มดีเกือบทุกอย่าง แต่วงคำศัพท์น้อยมาก ก็ต้องมาปรึกษากันว่าอะไรสำคัญที่สุดและน้องๆ ชอบเล่มไหนมากที่สุด (หรืออาจจะต้องซื้อสองเล่ม) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในวัยนี้ไม่ใช้ความรู้แบบจัดเต็ม แต่เป็นการเรียนรู้ภาษาอย่างสนุกสนาน ทำให้เขาอยากศึกษาต่อเองที่บ้าน และเพิ่มพูนทักษะในการพัฒนาภาษาด้วยตัวเองสำหรับวันข้างหน้า เพราะภาษานั้นได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ มีวินัยเสมอต้นเสมอปลาย และรู้ว่าเขาต้องการรู้อะไรและเพื่ออะไร
วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ตามหา Dictionary ชั้นเลิศ ตอนที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Dictionary
ตอนที่แล้ว สัญญาว่าจะมาแนะนำการเลือกใช้ดิกชันนารีที่เหมาะกับแต่ละคน ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด เรามาดูก่อนว่าดิกชันนารีมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเป็นอย่างไรบ้าง ที่เห็นทั่วไปคือ
๑. พจนานุกรมสองภาษา หรือที่เราเรียกว่า dictionary แปลอังกฤษเป็นไทย ไทยเป็นอังกฤษ อังกฤษเป็นสเปน ญี่ปุ่นเป็นไทย หาซื้อได้มากมายและหลากหลาย แต่คุณภาพและมาตรฐานหาเหมือนกันไม่ ถ้าต้องการเพิ่มวงคำศัพท์ได้ในระดับหนี่งหยิบเล่มไหนก็คงจะได้ แต่ถ้าต้องการที่พึ่งทางการศึกษาเพื่อพัฒนาอย่างจริงจัง คงต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย แล้วเราจะมาพูดถึงในรายละเอียดในโอกาสอันใกล้
๒. พจนานุกรมแบบภาษาเดียว แปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ไทยเป็นไทย ญี่ปุ่นเป็นญี่ปุ่น เยอรมันเป็นเยอรมัน ชาวไทยผู้ศึกษาภาษาอังกฤษหลายคนพยายามหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด แต่ขอบอกเลยว่าถ้าคุณยอมอดทนกับพจนานุกรมประเภทนี้ ภาษาคุณจะพัฒนาได้เร็ว และสามารถใช้ภาษาอังกฤษบรรยายสิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าคนที่ใช้ดิกชันนารีแปลอังกฤษเป็นไทย
๓. พจนานุกรมฉบับคำพ้อง จะไม่บรรยายความหมายของคำ รวบรวมคำพ้องความหมายไว้ด้วยกัน ภาษาไทยเรียกว่าอรรธภิธาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Thesaurus ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นพวกนักแปลหรือนักโฆษณาที่ต้องคิดคำไพเราะที่แตกต่างไว้ใช้ให้งานเขียนของเขามีความเป็นเอกลักษณ์ ละเมียดละไม และจับใจผู้คน ผู้เรียนเพื่อการสอบจำหามาไว้ท่อง synonym ก็ไม่เป็นไร แต่เล่มใหญ่นะ ขอบอก
๓. พจนานุกรมหลายภาษา เช่น อังกฤษ-ไทย-จีน, ไทย-จีน-ญี่ปุ่น, อังกฤษ-ฝรั่งเศส-ไทย เป็นต้น พวกนี้เหมาะสำหรับคนที่ศึกษาสามภาษา มักจะมีคำศัพท์ การออกเสียง และคำแปล แต่มักไม่มีรายละเอียดทางด้านการไวยากรณ์หรือตัวอย่างประโยค
๔. พจนานุกรมภาพ อาจมีหนึ่ง สอง หรือสามภาษาขึ้นไป มีภาพประกอบไว้บอกว่ามันเป็นอะไรและมักไม่มีคำอธิบาย จึงไม่ค่อยมีศัพท์ที่เป็นนามธรรม เช่น คำว่า "เสื้อกันหนาว" คำเดียวในภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษได้ว่าอะไรบ้าง ตั้งแต่ coat, overcoat, jersey, sweater, sweatshirt, anorak, jacket, cardigan แตกต่างกันอย่างไร อ่านคำอธิบายอย่างไรก็คงไม่เห็นภาพ จำเป็นมากสำหรับการศึกษาคนที่ต้องการศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตั้งแต่การแต่งกาย อุปกรณ์เครื่องใช้ อาหารการกิน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ จากต่างถิ่น สมัยก่อนจะเป็นภาพวาดที่คลาสสิกมากๆ แต่สมัยนี้หาได้ยากมากแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่าย
๔. พจนานุกรมศัพท์เฉพาะ มีตั้งแต่ พจนานุกรมศัพท์แพทย์ ชีววิทยา ปรัชญา ฯลฯ เหมาะกับผู้ต้องการศึกษาเฉพาะทางค่ะ
๕. พจนานุกรมทางเลือก แอฟฟลิเคชั่นในมือถือ หรือเว็บไซต์ดิกชันนารีออนไลน์เป็นต้น
จะเยอะไปไหนเนี่ย แล้วเลือกใช้อย่างไรดี พวกบ้าดิกชันนารีอย่างเราก็คงจะอยากได้มันหมดทุกเล่ม เนื่องด้วยไม่มีดิกชันนารีเล่มไหนที่แทนกันได้ ซึ่งมันก็จริง
แต่สำหรับคนที่เรียนภาษาปกติ คงต้องการดิกชันนารีเล่มเดียวที่ใช่ใช่ไหมล่ะ
ถ้าเค้าบอกว่าจะมาต่อตอนหน้าอีกรอบ จะดักตีหัวเค้ามั้ย
อุอุอุ
๑. พจนานุกรมสองภาษา หรือที่เราเรียกว่า dictionary แปลอังกฤษเป็นไทย ไทยเป็นอังกฤษ อังกฤษเป็นสเปน ญี่ปุ่นเป็นไทย หาซื้อได้มากมายและหลากหลาย แต่คุณภาพและมาตรฐานหาเหมือนกันไม่ ถ้าต้องการเพิ่มวงคำศัพท์ได้ในระดับหนี่งหยิบเล่มไหนก็คงจะได้ แต่ถ้าต้องการที่พึ่งทางการศึกษาเพื่อพัฒนาอย่างจริงจัง คงต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย แล้วเราจะมาพูดถึงในรายละเอียดในโอกาสอันใกล้
๒. พจนานุกรมแบบภาษาเดียว แปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ไทยเป็นไทย ญี่ปุ่นเป็นญี่ปุ่น เยอรมันเป็นเยอรมัน ชาวไทยผู้ศึกษาภาษาอังกฤษหลายคนพยายามหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด แต่ขอบอกเลยว่าถ้าคุณยอมอดทนกับพจนานุกรมประเภทนี้ ภาษาคุณจะพัฒนาได้เร็ว และสามารถใช้ภาษาอังกฤษบรรยายสิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าคนที่ใช้ดิกชันนารีแปลอังกฤษเป็นไทย
๓. พจนานุกรมฉบับคำพ้อง จะไม่บรรยายความหมายของคำ รวบรวมคำพ้องความหมายไว้ด้วยกัน ภาษาไทยเรียกว่าอรรธภิธาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Thesaurus ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นพวกนักแปลหรือนักโฆษณาที่ต้องคิดคำไพเราะที่แตกต่างไว้ใช้ให้งานเขียนของเขามีความเป็นเอกลักษณ์ ละเมียดละไม และจับใจผู้คน ผู้เรียนเพื่อการสอบจำหามาไว้ท่อง synonym ก็ไม่เป็นไร แต่เล่มใหญ่นะ ขอบอก
๓. พจนานุกรมหลายภาษา เช่น อังกฤษ-ไทย-จีน, ไทย-จีน-ญี่ปุ่น, อังกฤษ-ฝรั่งเศส-ไทย เป็นต้น พวกนี้เหมาะสำหรับคนที่ศึกษาสามภาษา มักจะมีคำศัพท์ การออกเสียง และคำแปล แต่มักไม่มีรายละเอียดทางด้านการไวยากรณ์หรือตัวอย่างประโยค
๔. พจนานุกรมภาพ อาจมีหนึ่ง สอง หรือสามภาษาขึ้นไป มีภาพประกอบไว้บอกว่ามันเป็นอะไรและมักไม่มีคำอธิบาย จึงไม่ค่อยมีศัพท์ที่เป็นนามธรรม เช่น คำว่า "เสื้อกันหนาว" คำเดียวในภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษได้ว่าอะไรบ้าง ตั้งแต่ coat, overcoat, jersey, sweater, sweatshirt, anorak, jacket, cardigan แตกต่างกันอย่างไร อ่านคำอธิบายอย่างไรก็คงไม่เห็นภาพ จำเป็นมากสำหรับการศึกษาคนที่ต้องการศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตั้งแต่การแต่งกาย อุปกรณ์เครื่องใช้ อาหารการกิน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ จากต่างถิ่น สมัยก่อนจะเป็นภาพวาดที่คลาสสิกมากๆ แต่สมัยนี้หาได้ยากมากแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่าย
๔. พจนานุกรมศัพท์เฉพาะ มีตั้งแต่ พจนานุกรมศัพท์แพทย์ ชีววิทยา ปรัชญา ฯลฯ เหมาะกับผู้ต้องการศึกษาเฉพาะทางค่ะ
๕. พจนานุกรมทางเลือก แอฟฟลิเคชั่นในมือถือ หรือเว็บไซต์ดิกชันนารีออนไลน์เป็นต้น
จะเยอะไปไหนเนี่ย แล้วเลือกใช้อย่างไรดี พวกบ้าดิกชันนารีอย่างเราก็คงจะอยากได้มันหมดทุกเล่ม เนื่องด้วยไม่มีดิกชันนารีเล่มไหนที่แทนกันได้ ซึ่งมันก็จริง
แต่สำหรับคนที่เรียนภาษาปกติ คงต้องการดิกชันนารีเล่มเดียวที่ใช่ใช่ไหมล่ะ
ถ้าเค้าบอกว่าจะมาต่อตอนหน้าอีกรอบ จะดักตีหัวเค้ามั้ย
อุอุอุ
ตามหา Dictionary ชั้นเลิศ ตอนที่ ๑ คนที่ไม่ใช่จะมาก่อนคนที่ใช่ ดิกชันนารีก็เหมือนกัน
ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบกันต้องขออภัยด้วย แต่วันนี้มีหัวข้อที่อยากแบ่งปัน เรื่องของเรื่องก็คือ เราเป็นคนชอบเปิดดิกชันนารีมาก ตอนเรียนอยู่วันดีคืนดีก็เอามาเปิดหาศัพท์แล้วแบ่งกลุ่มเล่น ดิกเล่มไหนไม่มีดัชนีแบ่งตามตัวอักษรที่ขอบก็นั่งลงสีเล่นเอง ดิกเล่มไหนปกเน่าก็เอามากระดาษแข็งมาดามแล้วตกแต่งด้วยภาพปะติดและกลอนเพราะๆ ตามภาษานั้นๆ ดิกเก่าแค่ไหนก็ทิ้งไม่ลง เพราะมันเป็นประวัติศาสตร์ เอามาเปรียบเทียบได้ว่า คำนี้อีกสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้าจะหายไปไหม หรือจะมีความหมายเปลี่ยนไปอย่างไร เรียกว่าเป็นเอามาก ทำคานไว้สะสมวางดิกชันนารีแล้วเอาตัวเองขึ้นไปกินนอนด้วยกันเลยก็ว่าได้
หลังๆ มานี่พอได้สอนไพรเวทคลาสบ่อยๆ ก็ชอบสอนให้นักเรียนหัดเปิดดิกเอง เพื่อใช้เพิ่มพูนคำศัพท์ในวงสแครบเบิ้ล และเมื่อน้องเปิดเก่งแล้วก็จะสามารถศึกษาด้วยตัวเองเวลาอยู่บ้านได้ เวลาสั่งให้อ่านบทความ น้องๆ สามารถไปเปิดดิกหาความหมายมาล่วงหน้าได้ ไม่ต้องเสียเวลาหาศัพท์ในห้องเรียนหรือเอาแต่ถามอาจารย์แล้ววิเคราะห์เองไม่เป็น เราสอนด้วยจุดมุ่งหมายให้เด็กๆ สามารถพึ่งพาตัวเองทางวิชาการได้ วิเคราะห์ข้อสอบเองได้ พอน้องสนุก ขอให้พ่อแม่ซื้อดิกชันนารีไว้เป็นสมบัติส่วนตัว ก็เลยขอให้เราช่วยแนะนำดิกชันนารีดีๆ ให้ เราก็เลยคิดว่าเรามาเขียนถึงการเลือกดิกชันนารีกันดีกว่า
เด็กหลายคนไม่ยอมเปิดดิก บอกว่าขี้เกียจและมันไม่จำเป็น แค่ใช้ application ในมือถือเอาก็พอแล้ว หาศัพท์ง่าย ไม่เสียเวลา ซึ่งก็จริงในประเด็นเหล่านั้น แต่เราอยากบอกว่า การเปิดดิกในมือถือมีข้อดีเฉพาะการหาความหมายในสถานการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น และยังมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้การพัฒนาด้านภาษาของผู้เรียนไม่ก้าวหน้าได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะดิกที่โหลดมาฟรีมักไม่มีรายละเอียดที่ผู้เรียนภาษาเพื่อการอ่าน การเขียน และการทำข้อสอบจำเป็นต้องใช้ จึงอยากขอสรุปมาตรงนี้ว่า ดิกชันนารีที่ไม่เหมาะสมในการพัฒนาภาษาเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ได้หมายความเฉพาะ app ดิกในมือถือเท่านั้น ดิกชันนารีเป็นเล่มที่มีลักษณะเหล่านี้ก็ไม่เหมาะสำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษเพื่ออนาคตเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจะเข้า AEC แล้วทำสังคมเราให้เป็นสังคมอินเตอร์ที่พูดคุย สื่อสารทางวิชาการและทำธุรกิจกับต่างชาติได้ในระดับเดียวกับสากล
สรุปเลย ดิกชันนารีที่ไม่ดีต่อการพัฒนาทักษะทางภาษามีลักษณะด้งต่อไปนี้
1. ประเด็นที่สำคัญของการใช้ดิกชันนารีมือถือหรือ talking dict ที่พิมพ์คำแล้วหาความหมายได้เลย คือทำให้เด็กๆ ลืมลำดับพยัญชนะ a - z และมีความอดทนต่ำ แม้ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เวลาที่ไปหาข้อมูลที่เป็นรายการในเอกสารที่ใส่คีย์เวิร์ดหาออกมาไม่ได้แล้วน้องต้องไล่มาตั้งแต่ a-z เพราะลำดับก่อนหลังไม่เป็นเนี่ย เสียเวลามากนะคะ แล้วเด็กที่แค่หัดเปิดดิกชันนารียังไม่อดทนเนี่ย จะมีความอดทนกับอะไรในชีวิตจริงบ้างไหม คิดแล้วก็น่าห่วงนะคะ เดี๋ยวนี้อะไรก็ต้องเร็วทันใจไปเสียหมด ใครอยู่ใกล้ก็คงไม่สบายใจเพราะต้องตามใจเขาไปทุกเรื่อง การให้น้องหัดเปิดดิกเป็นการฝึกความพยายามที่ไม่หนักหนาและเห็นผลได้ไว เมื่อน้องหาศัพท์ได้ไว้กว่าเพื่อนก็ภูมิใจในตัวเองได้อย่างไม่ยากเย็น และการพึ่งพาแต่แหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตก็มีผลเสียมากพอๆ กับผลดีอย่างที่เรารู้ๆ กัน ว่ามีข้อมูลเท็จ ข้อมูลเทียม ข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงและข้อมูลที่เป็นอันตรายเต็มไปหมด เพราะการจะสร้างแหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตนั้นง่ายแสนง่าย ใครๆ ก็ทำได้และแก้ไขได้ง่ายด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที การที่เราสามารถใช้แหล่งความรู้อื่นที่ได้มาตรฐานมากกว่า แม้จะต้องใช้เวลากับมันมากกว่าก็นับว่าคุ้มค่าในระยะยาวนะคะ
2. ดิกชันนารีที่ไม่บอกวิธีออกเสียงทำให้เด็กออกเสียงไม่ถูก เพราะดิกในมือถือโดยเฉพาะที่แถมมาหรือดาวน์โหลดมาฟรีๆ เนี่ย มักจะไม่มีคำอ่านนะคะ และคำอ่านที่เขียนเป็นภาษาไทยก็มักให้เสียงไม่ค่อยตรง ก็หลักการออกเสียงของภาษาตะวันออกกับตะวันตกมันไม่เหมือนกัน ในมหาวิทยาลัยเขาเรียนกันเป็นเทอม ดังนั้นเราจะออกเสียงได้ถูกต้องก็ด้วยการเรียนการออกเสียงตามแบบภาษาอังกฤษที่ใช้กลุ่มตัวอักษรโฟเนติกแทนเสียงเท่านั้น ไม่ใช่การเอาอักษรไทยมาแทนเสียงแล้วจบ
3. App ดิกชันนารีในมือถือและดิกเล่มเล็กหลายเล่มไม่บอกชนิดของคำ หรือบอกแบบแกนๆ ไม่ระเอียด แต่มันเป็นที่ส่วนสำคัญมากในการทำความเข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การแปล และการแต่งประโยคให้ถูกต้อง การบอกชนิดของคำที่ดีต้องไม่บอกแค่เป็นคำนาม (n.) แต่ความหมายใดเป็นคำนามนับไม่ได้ (nu.) ความหมายใดเป็นคำนามนับได้ (nc.) เพราะคำนามหลายคำใช้ได้ทั้งสองแบบ และมันส่งผลต่อการใช้คำคุณศัพท์และการผันกิริยา ส่วนกิริยา (v.) ก็ต้องบอกว่าความหมายไหนต้องการกรรม (vt.) ความหมายไหนไม่ต้องการกรรม (vi.) ซึ่งกิริยาที่ไม่ต้องการกรรมนั้นจะใช้ในรูป passive voice ไม่ได้
4. ดิกในมือถือและดิกเล่มเล็กจำนวนมากไม่มีตัวอย่างประโยคให้เปรียบเทียบ ผลคือเด็กแปลได้เป็นคำๆ แต่เรียบเรียงความหมายในประโยคไม่ค่อยได้ แบบว่าจินตนาการไปเองได้ไกลสุดแรงฝันแต่ไม่ตรงกับความจริงในข้อเขียน เวลาทำข้อสอบก็เลยต้องเดาเป็นหลัก การเขียนก็จะอ่อนตามไปด้วย การใช้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติยิ่งไม่ต้องพูดถึง
5. app ดิกในมือถือและดิกชันนารีเล่มเล็กมักมีจำนวนคำศัพท์น้อยมาก ซึ่งไม่เหมาะสำหรับคนที่เรียนภาษาเพื่อการสอบในระดับมัธยมปลายขึ้นไป เนื่องจากในระดับนี้ เริ่มมีศัพท์ทางด้านวิชาการในข้อสอบแล้ว ดูอย่าง MDX, MD-02 ซิ (ข้อสอบสำหรับศึกษาต่อแพทย์ศาสตร์) ถ้าเป็นข้อสอบ TOEIC ก็เป็นศัพท์ทางธุรกิจ ถ้าเป็นข้อสอบ CU-Tep, TU-Get ก็เป็นศัพท์ทางวิชาการสาขาต่างๆ ตั้งแต่เคมี ชีวะ ไปจนถึงธรณีวิทยา และดาราศาสตร์ ศาสตร์แห่งภาษาและคำศัพท์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลพอๆ กับจักรวาลดาวล้านดวง ยิ่งเราใช้หน้าต่างบานเล็กแค่ไหน เราก็เห็นได้น้อยแค่นั้นค่ะ เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ กันไปเลย
ถ้าอย่างนั้น ดิกชันนารีแบบไหนที่เหมาะกับผู้เรียนมากที่สุดล่ะ ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เรียนด้วยว่ากำลังเรียนอยู่ในระดับไหน และมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นอย่างไร ตอนหน้า เราจะมาอธิบายให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ดิกชันนารีแบบไหนกันนะที่น่าซื้อไว้เพื่อการเรียนภาษาที่เต็มประสิทธิภาพของแต่ละคน
รอพี่เขียนแป๊บ พี่จัดเต็มแน่นอน
ตามหา Dictionary ชั้นเลิศ ตอนที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Dictionary
หลังๆ มานี่พอได้สอนไพรเวทคลาสบ่อยๆ ก็ชอบสอนให้นักเรียนหัดเปิดดิกเอง เพื่อใช้เพิ่มพูนคำศัพท์ในวงสแครบเบิ้ล และเมื่อน้องเปิดเก่งแล้วก็จะสามารถศึกษาด้วยตัวเองเวลาอยู่บ้านได้ เวลาสั่งให้อ่านบทความ น้องๆ สามารถไปเปิดดิกหาความหมายมาล่วงหน้าได้ ไม่ต้องเสียเวลาหาศัพท์ในห้องเรียนหรือเอาแต่ถามอาจารย์แล้ววิเคราะห์เองไม่เป็น เราสอนด้วยจุดมุ่งหมายให้เด็กๆ สามารถพึ่งพาตัวเองทางวิชาการได้ วิเคราะห์ข้อสอบเองได้ พอน้องสนุก ขอให้พ่อแม่ซื้อดิกชันนารีไว้เป็นสมบัติส่วนตัว ก็เลยขอให้เราช่วยแนะนำดิกชันนารีดีๆ ให้ เราก็เลยคิดว่าเรามาเขียนถึงการเลือกดิกชันนารีกันดีกว่า
เด็กหลายคนไม่ยอมเปิดดิก บอกว่าขี้เกียจและมันไม่จำเป็น แค่ใช้ application ในมือถือเอาก็พอแล้ว หาศัพท์ง่าย ไม่เสียเวลา ซึ่งก็จริงในประเด็นเหล่านั้น แต่เราอยากบอกว่า การเปิดดิกในมือถือมีข้อดีเฉพาะการหาความหมายในสถานการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น และยังมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้การพัฒนาด้านภาษาของผู้เรียนไม่ก้าวหน้าได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะดิกที่โหลดมาฟรีมักไม่มีรายละเอียดที่ผู้เรียนภาษาเพื่อการอ่าน การเขียน และการทำข้อสอบจำเป็นต้องใช้ จึงอยากขอสรุปมาตรงนี้ว่า ดิกชันนารีที่ไม่เหมาะสมในการพัฒนาภาษาเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ได้หมายความเฉพาะ app ดิกในมือถือเท่านั้น ดิกชันนารีเป็นเล่มที่มีลักษณะเหล่านี้ก็ไม่เหมาะสำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษเพื่ออนาคตเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจะเข้า AEC แล้วทำสังคมเราให้เป็นสังคมอินเตอร์ที่พูดคุย สื่อสารทางวิชาการและทำธุรกิจกับต่างชาติได้ในระดับเดียวกับสากล
สรุปเลย ดิกชันนารีที่ไม่ดีต่อการพัฒนาทักษะทางภาษามีลักษณะด้งต่อไปนี้
1. ประเด็นที่สำคัญของการใช้ดิกชันนารีมือถือหรือ talking dict ที่พิมพ์คำแล้วหาความหมายได้เลย คือทำให้เด็กๆ ลืมลำดับพยัญชนะ a - z และมีความอดทนต่ำ แม้ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เวลาที่ไปหาข้อมูลที่เป็นรายการในเอกสารที่ใส่คีย์เวิร์ดหาออกมาไม่ได้แล้วน้องต้องไล่มาตั้งแต่ a-z เพราะลำดับก่อนหลังไม่เป็นเนี่ย เสียเวลามากนะคะ แล้วเด็กที่แค่หัดเปิดดิกชันนารียังไม่อดทนเนี่ย จะมีความอดทนกับอะไรในชีวิตจริงบ้างไหม คิดแล้วก็น่าห่วงนะคะ เดี๋ยวนี้อะไรก็ต้องเร็วทันใจไปเสียหมด ใครอยู่ใกล้ก็คงไม่สบายใจเพราะต้องตามใจเขาไปทุกเรื่อง การให้น้องหัดเปิดดิกเป็นการฝึกความพยายามที่ไม่หนักหนาและเห็นผลได้ไว เมื่อน้องหาศัพท์ได้ไว้กว่าเพื่อนก็ภูมิใจในตัวเองได้อย่างไม่ยากเย็น และการพึ่งพาแต่แหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตก็มีผลเสียมากพอๆ กับผลดีอย่างที่เรารู้ๆ กัน ว่ามีข้อมูลเท็จ ข้อมูลเทียม ข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงและข้อมูลที่เป็นอันตรายเต็มไปหมด เพราะการจะสร้างแหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตนั้นง่ายแสนง่าย ใครๆ ก็ทำได้และแก้ไขได้ง่ายด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที การที่เราสามารถใช้แหล่งความรู้อื่นที่ได้มาตรฐานมากกว่า แม้จะต้องใช้เวลากับมันมากกว่าก็นับว่าคุ้มค่าในระยะยาวนะคะ
2. ดิกชันนารีที่ไม่บอกวิธีออกเสียงทำให้เด็กออกเสียงไม่ถูก เพราะดิกในมือถือโดยเฉพาะที่แถมมาหรือดาวน์โหลดมาฟรีๆ เนี่ย มักจะไม่มีคำอ่านนะคะ และคำอ่านที่เขียนเป็นภาษาไทยก็มักให้เสียงไม่ค่อยตรง ก็หลักการออกเสียงของภาษาตะวันออกกับตะวันตกมันไม่เหมือนกัน ในมหาวิทยาลัยเขาเรียนกันเป็นเทอม ดังนั้นเราจะออกเสียงได้ถูกต้องก็ด้วยการเรียนการออกเสียงตามแบบภาษาอังกฤษที่ใช้กลุ่มตัวอักษรโฟเนติกแทนเสียงเท่านั้น ไม่ใช่การเอาอักษรไทยมาแทนเสียงแล้วจบ
3. App ดิกชันนารีในมือถือและดิกเล่มเล็กหลายเล่มไม่บอกชนิดของคำ หรือบอกแบบแกนๆ ไม่ระเอียด แต่มันเป็นที่ส่วนสำคัญมากในการทำความเข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การแปล และการแต่งประโยคให้ถูกต้อง การบอกชนิดของคำที่ดีต้องไม่บอกแค่เป็นคำนาม (n.) แต่ความหมายใดเป็นคำนามนับไม่ได้ (nu.) ความหมายใดเป็นคำนามนับได้ (nc.) เพราะคำนามหลายคำใช้ได้ทั้งสองแบบ และมันส่งผลต่อการใช้คำคุณศัพท์และการผันกิริยา ส่วนกิริยา (v.) ก็ต้องบอกว่าความหมายไหนต้องการกรรม (vt.) ความหมายไหนไม่ต้องการกรรม (vi.) ซึ่งกิริยาที่ไม่ต้องการกรรมนั้นจะใช้ในรูป passive voice ไม่ได้
4. ดิกในมือถือและดิกเล่มเล็กจำนวนมากไม่มีตัวอย่างประโยคให้เปรียบเทียบ ผลคือเด็กแปลได้เป็นคำๆ แต่เรียบเรียงความหมายในประโยคไม่ค่อยได้ แบบว่าจินตนาการไปเองได้ไกลสุดแรงฝันแต่ไม่ตรงกับความจริงในข้อเขียน เวลาทำข้อสอบก็เลยต้องเดาเป็นหลัก การเขียนก็จะอ่อนตามไปด้วย การใช้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติยิ่งไม่ต้องพูดถึง
5. app ดิกในมือถือและดิกชันนารีเล่มเล็กมักมีจำนวนคำศัพท์น้อยมาก ซึ่งไม่เหมาะสำหรับคนที่เรียนภาษาเพื่อการสอบในระดับมัธยมปลายขึ้นไป เนื่องจากในระดับนี้ เริ่มมีศัพท์ทางด้านวิชาการในข้อสอบแล้ว ดูอย่าง MDX, MD-02 ซิ (ข้อสอบสำหรับศึกษาต่อแพทย์ศาสตร์) ถ้าเป็นข้อสอบ TOEIC ก็เป็นศัพท์ทางธุรกิจ ถ้าเป็นข้อสอบ CU-Tep, TU-Get ก็เป็นศัพท์ทางวิชาการสาขาต่างๆ ตั้งแต่เคมี ชีวะ ไปจนถึงธรณีวิทยา และดาราศาสตร์ ศาสตร์แห่งภาษาและคำศัพท์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลพอๆ กับจักรวาลดาวล้านดวง ยิ่งเราใช้หน้าต่างบานเล็กแค่ไหน เราก็เห็นได้น้อยแค่นั้นค่ะ เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ กันไปเลย
ถ้าอย่างนั้น ดิกชันนารีแบบไหนที่เหมาะกับผู้เรียนมากที่สุดล่ะ ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เรียนด้วยว่ากำลังเรียนอยู่ในระดับไหน และมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นอย่างไร ตอนหน้า เราจะมาอธิบายให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ดิกชันนารีแบบไหนกันนะที่น่าซื้อไว้เพื่อการเรียนภาษาที่เต็มประสิทธิภาพของแต่ละคน
รอพี่เขียนแป๊บ พี่จัดเต็มแน่นอน
ตามหา Dictionary ชั้นเลิศ ตอนที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Dictionary
วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โปรโมชั่นขอบคุณลูกค้า กี่คนก็สอน เดือนมิถุนายนนี้เท่านั้น
คลิกภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
หรือคลิกดูรายละเอียดที่ หน้า cover ของ https://www.facebook.com/aveysol ได้เลยค่ะ
หรือคลิกดูรายละเอียดที่ หน้า cover ของ https://www.facebook.com/aveysol ได้เลยค่ะ
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เมื่อคุณศัพท์กำกับคำนาม
คำนามคือคำที่เราใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ เช่น ต้นไม้ ภูเขา รถยนต์ บ้าน ฯลฯ ในภาษาไทย บ้านจะกี่หลังก็เป็นบ้าน แต่ในภาษาอังกฤษ บ้านหนึ่งหลังเรียก house บ้านหลายหลังต้องเติม -s เป็น houses เรียกว่าคำนามของเขามีรูปเอกพจน์เวลามีชิ้นเดียว (เช่น house, dog, child, etc.) และมีรูปพหูหจน์เวลามีหลายชิ้น (เช่น houses, dogs, children, etc.) เป็นต้น อันนี้เป็นหลักเบื้องต้น ยังมีคำที่ใช้รูปเดียวสำหรับทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ (เช่น sheep, fish, etc.) มีใช้รูปเอกพจน์แบบหนึ่ง พหูพจน์แบบหนึ่ง (เช่น person กับ people) อันนั้นค่อยมาว่ากันทีหลังแล้วกันนะ
ส่วนคำคุณศัพท์คือคำที่ใช้เพิ่มความหมายของสิ่งของ เช่น สีดำ สีแดง สีขาว ใหญ่ เล็ก กว้าง สวย ฉลาด ฯลฯ
ในภาษาไทยเราวางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม ดีไม่ดีมีลักษณะนามมาวางคั่น เช่น บ้านหลังใหญ่
แต่ในภาษาอังกฤษจะวางคำคุณศัพท์ไว้ข้างหน้า เช่น a big house
โดยทั่วไปแล้ว ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำคุณศัพท์นั้นไม่ต้องผันคำ บ้านจะกี่หลังก็ big ตัวเดียวเหมือนกัน แม้คำว่า "บ้าน" จะผันเป็นพหูพจน์ก็ตาม เช่น This is a big house. = บ้านหลังนี้ใหญ่ กับ Those houses are big. = บ้านเหล่านั้นหลังใหญ่จัง
(อย่าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดานะคะ หลายภาษาผันคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ซับซ้อนกว่านี้ แล้วคำคุณศัพท์ก็ผันตามกันไปด้วย เห่อๆๆๆ)
สิ่งที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความแน่นแฟ้นในการผันคำของคำนามกับคำคุณศัพท์นี้ก็คือ ในบางกรณีนั้น คำคุณศัพท์จะเป็นตัวชี้ว่าคำนามนั้นจะผันอย่างไร อุแม่เจ้า ไม่เห็นเคยได้ยินอะไรแบบนี้
มันมีจริงๆ หรือ???
จริงจ้า.....!!!
ยกตัวอย่างเช่น
The first person believed 1. to have used a series of 2. photograph 3. to produce 4. an illusion of movement was Coleman Sellers.
"คนแรกที่เชื่อกันว่าเป็นผู้นำชุดภาพถ่ายมาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็คือ โคลแมน เซลเลอร์ส"
เห็นอะไรรึเปล่าเอ่ย...
คิดก่อนแล้วค่อยอ่านเฉลยข้างล่างนะคะ
ข้อนี้ที่ผิดคือ ข้อ..... 2
เพราะ a series of หมายถึง ชุดของ ซึ่งมีความหมายบอกว่าคำนามที่ตามมาจะต้องเป็นพหูพจน์ คือ a series of photographs หรือ ชุดรูปภาพ นั่นเอง
จะว่ากันจริงๆ คำว่า a series of นี่ก็ไม่ได้เป็นคำคุณศัพท์นะคะ แต่ด้วยลักษณะการวางไว้หน้าคำนามเหมือนกัน และมีวีธีการคิดเหมือนกันก็เลยเอามายกเป็นตัวอย่างในกรณีเดียวกัน
คำคุณศัพท์ที่มีความหมายเป็นพหูพจน์ก็มีไว้ใช้กับคำนามที่เป็นพหูพจน์เท่านั้นคือ เช่น various กับ several เป็นต้น (แปลว่า แตกต่าง, หลากหลาย) เจอสองคำนี้เหมือนไหร่ คำนามที่ตามหลังมาต้องเป็นคำพหูพจน์เท่านั้น
เช่นเดียวกับ all of, each of, every of ซึ่งคำที่ตามหลังคำเหล่านี้ต้องเป็น คำนำหน้านามและคำนามพหูพจน์ เช่น all of these students = นักเรียนเหล่านี้ทั้งหมด, Each of my brothers = พี่ชายแต่ละคนของฉัน, Every of those houses = บ้านทุกหลังเหล่านั้น
แต่ถ้าไม่มีคำนำหน้านาม คำว่า each กับ every จะใช้กับคำนามเอกพจน์นะคะ เช่น Each student = นักเรียนแต่ละคะ, Every house = บ้านทุกๆ หลัง
แปลออกมาจะมีความหมายเหมือนกัน แต่ความเป็นเอกพจน์กับพหูพจน์ในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน อาจจะฟังดูเข้าใจยาก แต่ขอเพียงเราไม่กลัวสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ใส่ใจกับมัน แล้วให้เวลากับมัน พอเราคุ้นเคยมันแล้ว ก็ไม่มีอะไรน่ากลัวค่ะ
ภาษานั้นควรจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดแล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการทำความเข้าใจกัน ^^
มีทัศนคติที่ดีกับมัน มันก็จะใจดีกับเราค่ะ ^^
เจอกันใหม่ตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ติดตามกันต่อไปจ้า
ส่วนคำคุณศัพท์คือคำที่ใช้เพิ่มความหมายของสิ่งของ เช่น สีดำ สีแดง สีขาว ใหญ่ เล็ก กว้าง สวย ฉลาด ฯลฯ
ในภาษาไทยเราวางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม ดีไม่ดีมีลักษณะนามมาวางคั่น เช่น บ้านหลังใหญ่
แต่ในภาษาอังกฤษจะวางคำคุณศัพท์ไว้ข้างหน้า เช่น a big house
โดยทั่วไปแล้ว ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำคุณศัพท์นั้นไม่ต้องผันคำ บ้านจะกี่หลังก็ big ตัวเดียวเหมือนกัน แม้คำว่า "บ้าน" จะผันเป็นพหูพจน์ก็ตาม เช่น This is a big house. = บ้านหลังนี้ใหญ่ กับ Those houses are big. = บ้านเหล่านั้นหลังใหญ่จัง
(อย่าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดานะคะ หลายภาษาผันคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ซับซ้อนกว่านี้ แล้วคำคุณศัพท์ก็ผันตามกันไปด้วย เห่อๆๆๆ)
สิ่งที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความแน่นแฟ้นในการผันคำของคำนามกับคำคุณศัพท์นี้ก็คือ ในบางกรณีนั้น คำคุณศัพท์จะเป็นตัวชี้ว่าคำนามนั้นจะผันอย่างไร อุแม่เจ้า ไม่เห็นเคยได้ยินอะไรแบบนี้
มันมีจริงๆ หรือ???
จริงจ้า.....!!!
ยกตัวอย่างเช่น
The first person believed 1. to have used a series of 2. photograph 3. to produce 4. an illusion of movement was Coleman Sellers.
"คนแรกที่เชื่อกันว่าเป็นผู้นำชุดภาพถ่ายมาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็คือ โคลแมน เซลเลอร์ส"
เห็นอะไรรึเปล่าเอ่ย...
คิดก่อนแล้วค่อยอ่านเฉลยข้างล่างนะคะ
ข้อนี้ที่ผิดคือ ข้อ..... 2
เพราะ a series of หมายถึง ชุดของ ซึ่งมีความหมายบอกว่าคำนามที่ตามมาจะต้องเป็นพหูพจน์ คือ a series of photographs หรือ ชุดรูปภาพ นั่นเอง
จะว่ากันจริงๆ คำว่า a series of นี่ก็ไม่ได้เป็นคำคุณศัพท์นะคะ แต่ด้วยลักษณะการวางไว้หน้าคำนามเหมือนกัน และมีวีธีการคิดเหมือนกันก็เลยเอามายกเป็นตัวอย่างในกรณีเดียวกัน
คำคุณศัพท์ที่มีความหมายเป็นพหูพจน์ก็มีไว้ใช้กับคำนามที่เป็นพหูพจน์เท่านั้นคือ เช่น various กับ several เป็นต้น (แปลว่า แตกต่าง, หลากหลาย) เจอสองคำนี้เหมือนไหร่ คำนามที่ตามหลังมาต้องเป็นคำพหูพจน์เท่านั้น
เช่นเดียวกับ all of, each of, every of ซึ่งคำที่ตามหลังคำเหล่านี้ต้องเป็น คำนำหน้านามและคำนามพหูพจน์ เช่น all of these students = นักเรียนเหล่านี้ทั้งหมด, Each of my brothers = พี่ชายแต่ละคนของฉัน, Every of those houses = บ้านทุกหลังเหล่านั้น
แต่ถ้าไม่มีคำนำหน้านาม คำว่า each กับ every จะใช้กับคำนามเอกพจน์นะคะ เช่น Each student = นักเรียนแต่ละคะ, Every house = บ้านทุกๆ หลัง
แปลออกมาจะมีความหมายเหมือนกัน แต่ความเป็นเอกพจน์กับพหูพจน์ในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน อาจจะฟังดูเข้าใจยาก แต่ขอเพียงเราไม่กลัวสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ใส่ใจกับมัน แล้วให้เวลากับมัน พอเราคุ้นเคยมันแล้ว ก็ไม่มีอะไรน่ากลัวค่ะ
ภาษานั้นควรจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดแล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการทำความเข้าใจกัน ^^
มีทัศนคติที่ดีกับมัน มันก็จะใจดีกับเราค่ะ ^^
เจอกันใหม่ตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ติดตามกันต่อไปจ้า
วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557
การสร้างศัพท์เรียกของใช้ในภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเรียนได้ทุกที่ วันก่อนไปเปิดดูรายการสิ่งประดิษฐ์ของชาวญี่ปุ่นที่ Japan Foundation ทำออกมาเผยแพร่ ก็พบว่าการสร้างศัพท์เรียกของใช้ในภาษาอังกฤษนั้นมีหลากหลายวิธีและน่าสนใจทีเดียว คราวนี้เลยของดเขียนถึงข้อสอบมาเป็นหมวดคำศัพท์บ้าง ซึ่งก็สำคัญสำหรับการสอบเหมือนกันนะ
การสร้างศัพท์เรียกของใช้ในภาษาอังกฤษมีได้หลากหลายวิธี อย่างน้อยก็ดังต่อไปนี้
1. NOUN = คำนามปกติ มีความหมายในตัวเอง เช่น
chair = เก้าอี้
table = โต๊ะ
cushion = เบาะ
2. NOUN+ware = คำนามตามด้วยคำว่า -ware หมายถึงของใช้สำหรับคำนามคำนั้น เช่น
houseware = ของใช้ในบ้าน
tableware = ของใช้บนโต๊ะรับประทานอาหาร
kitchenware = ของใช้ในครัว
3. VERB-ing + NOUN = คำกิริยาเติม -ing วางไว้หน้าคำนาม เพื่อบอกว่าของสิ่งนี้ใช้ทำอะไร เช่น
washing machine = เครื่องซักผ้า
chewing gum = ยางไว้เคี้ยว (หมากฝรั่ง)
lighting fixture = อุปกรณ์ติดตั้งที่ให้แสงสว่าง (อุปกรณ์แสงสว่าง)
4. VERB-er = คำกิริยาต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นผู้กระทำ (-er) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ทำกิริยานี้ เช่น
speaker = ผู้พูด หรือสิ่งที่พูดออกมา (ลำโพง)
rice cooker = หม้อหุงข้าว
ice-cream maker = เครื่องทำไอศครีม
5. ADJECTIVE + NOUN = คำคุณศัพท์ นำหน้าคำนาม หมายความว่า เครื่องใช้นั้นเป็นอย่างไร ทำมาจากอะไร หรือใช้เพื่อใคร เช่น
personal computer (PC) = คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานส่วนบุคคล
digital musical instrument = เครื่องดนตรีดิจิตัล
universal pen = ปากกาที่ใช้ทั่วไป
6. VERB+suffix ที่ใช้สร้างคำนาม = คำกิริยาต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นคำนาม หมายถึงสิ่งของที่ใช้ตามนั้น เช่น
store (เก็บ) +age = storage = ห้องเก็บของ หรือ ชั้นเก็บของ
furnish (ตกแต่ง) +ure = furniture = เครื่องเรือน ของตกแต่งบ้าน
cut (ตัด) +lery = cutlery = เครื่องมือที่ใช้ตัดอาหาร
7. ADJECTIVE + suffix ที่ใช้สร้างคำกิริยา + suffix ที่ใช้สร้างคำนาม = คำคุณศัพท์ต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นคำกิริยาและส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นผู้กระทำ เช่น
pure+ify+er = purifier = ผู้ทำให้บริสุทธิ์ (เครื่องกรอง)
sharp+en+er = sharpener = ผู้ทำให้คม (pencil sharpener = กบเหลาดินสอ)
หลังการสร้างคำเสร็จสิ้น คำเหล่านี้ล้วนทำหน้าที่เป็นคำนาม
คราวหน้าถ้าไปเจอข้อสอบถามว่า
Is it _____?_____ water. 1. drink 2. drinks 3. drinking 4. drunk
ก็รู้แล้วนะคะว่าต้องตอบ 3. drinking water ซึ่งเป็นว่าน้ำดื่มค่ะ ^^ (น้ำสำหรับดื่ม)
ขอบคุณ แค็ตตาล็อกนวัตกรรมของชาวญี่ปุ่น ที่ให้แรงบันดาลใจในการเขียนบล็อกวันนี้ พิมพ์เเผยแพร่โดย Japan Foundation
การสร้างศัพท์เรียกของใช้ในภาษาอังกฤษมีได้หลากหลายวิธี อย่างน้อยก็ดังต่อไปนี้
1. NOUN = คำนามปกติ มีความหมายในตัวเอง เช่น
chair = เก้าอี้
table = โต๊ะ
cushion = เบาะ
2. NOUN+ware = คำนามตามด้วยคำว่า -ware หมายถึงของใช้สำหรับคำนามคำนั้น เช่น
houseware = ของใช้ในบ้าน
tableware = ของใช้บนโต๊ะรับประทานอาหาร
kitchenware = ของใช้ในครัว
3. VERB-ing + NOUN = คำกิริยาเติม -ing วางไว้หน้าคำนาม เพื่อบอกว่าของสิ่งนี้ใช้ทำอะไร เช่น
washing machine = เครื่องซักผ้า
chewing gum = ยางไว้เคี้ยว (หมากฝรั่ง)
lighting fixture = อุปกรณ์ติดตั้งที่ให้แสงสว่าง (อุปกรณ์แสงสว่าง)
4. VERB-er = คำกิริยาต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นผู้กระทำ (-er) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ทำกิริยานี้ เช่น
speaker = ผู้พูด หรือสิ่งที่พูดออกมา (ลำโพง)
rice cooker = หม้อหุงข้าว
ice-cream maker = เครื่องทำไอศครีม
5. ADJECTIVE + NOUN = คำคุณศัพท์ นำหน้าคำนาม หมายความว่า เครื่องใช้นั้นเป็นอย่างไร ทำมาจากอะไร หรือใช้เพื่อใคร เช่น
personal computer (PC) = คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานส่วนบุคคล
digital musical instrument = เครื่องดนตรีดิจิตัล
universal pen = ปากกาที่ใช้ทั่วไป
6. VERB+suffix ที่ใช้สร้างคำนาม = คำกิริยาต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นคำนาม หมายถึงสิ่งของที่ใช้ตามนั้น เช่น
store (เก็บ) +age = storage = ห้องเก็บของ หรือ ชั้นเก็บของ
furnish (ตกแต่ง) +ure = furniture = เครื่องเรือน ของตกแต่งบ้าน
cut (ตัด) +lery = cutlery = เครื่องมือที่ใช้ตัดอาหาร
7. ADJECTIVE + suffix ที่ใช้สร้างคำกิริยา + suffix ที่ใช้สร้างคำนาม = คำคุณศัพท์ต่อท้ายด้วยส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นคำกิริยาและส่วนของคำที่ทำให้คำนั้นเป็นผู้กระทำ เช่น
pure+ify+er = purifier = ผู้ทำให้บริสุทธิ์ (เครื่องกรอง)
sharp+en+er = sharpener = ผู้ทำให้คม (pencil sharpener = กบเหลาดินสอ)
หลังการสร้างคำเสร็จสิ้น คำเหล่านี้ล้วนทำหน้าที่เป็นคำนาม
คราวหน้าถ้าไปเจอข้อสอบถามว่า
Is it _____?_____ water. 1. drink 2. drinks 3. drinking 4. drunk
ก็รู้แล้วนะคะว่าต้องตอบ 3. drinking water ซึ่งเป็นว่าน้ำดื่มค่ะ ^^ (น้ำสำหรับดื่ม)
ขอบคุณ แค็ตตาล็อกนวัตกรรมของชาวญี่ปุ่น ที่ให้แรงบันดาลใจในการเขียนบล็อกวันนี้ พิมพ์เเผยแพร่โดย Japan Foundation
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)